วันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันศุกร์ที่ 10 มีนาคม เวลา 08.30 น. - 12.30 น.


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับเคลื่อนไหว



เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์      
(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น
มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้
เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
*ทางร่างกายและทางสภาพแวดล้อม

ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- ความวิตกกังวล (Anxiety) ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
- ภาวะซึมเศร้า (Depression) มีความเศร้าในระดับที่สูงเกินไป  (เกิดจากตัวเด็ก)
- ปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต

การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ

ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)

ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์  ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบ
โทษผู้อื่น  เอะอะและหยาบคาย  หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน ใช้สารเสพติดและหมกมุ่นใน
กิจกรรมทางเพศ

ภาพเอเลี่ยนมนุษย์ต่างดาวมาฆ่าคน โดยน้องเพรส

ภาพมังกรพ่นไฟฆ่าชาวบ้านที่กำลังปลูกผัก โดยน้องเพรส

ภาพเจสันฆ่าคนจากน้ำขึ้นมาถือมีด รองเท้าเปื้อนเลือด โดยน้องเพรส

ภาพคนโดนฆ่ามีเลือดจากเล็บออกมา โดยน้องเพรส

ภาพหุ่นเด็กฆ่าคนเลือดเต็มพื้นพร้อมหัวเราะ5555 โดยน้องเพรส

อาจารย์อ่านสมุดจดพฤติกรรมของน้องเพรส




- น้องเพรสเป็นเด็กอนุบาล 2 ที่มีอารมณ์รุนแรงและสมาธิสั้น  เมื่ออยู่กับแม่จะเป็นเด็กดีเรียบร้อย อ้อนแม่เสมอ แต่เป็นเด็กที่เกลียดพ่อ อยู่ที่โรงเรียนจะชอบแกล้งเพื่อน และทำลายข้าวของภายในโรงเรียน ถ้าไม่พอใจอาจารย์หรือเมื่อใครทำสิ่งใดก็จะทำร้ายและพูดจาหยาบคายใส่เสมอ เช่น ต่อยเพื่อน , ผลักเพื่อน , ด่าครู อาจมีทำร้ายครูบ้าง , ปีนออกระเบียงเรียกร้องความสนใจ , หนีไปตลาดที่โรงเรียน , ฉี่รดแก้วน้ำเพื่อน , ด่าเพื่อน ตบตีเพื่อน , ทำลายของเสียหาย , อยู่ไม่นิ่ง  เมื่อไม่พอใจจะทำร้ายผู้ที่อยู่ใกล้และของที่อยู่ใกล้ เป็นต้น แต่ในบางวันน้องเพรสก็จะช่วยครูยกโต๊ะเก้าอี้ด้วย  สามารถควบคุมน้องเพรสได้โดยการใช้เสียงดัง ฟังชัด และหนักแน่น เพื่อให้เด็กรู้สึกกลัวและหยุดทำสิ่งนั้น ไม่ควรพูดจาอ่อนโยนจนเกินไปเพราะจะทำให้เด็กยิ่งไม่สนใจและทำสิ่งที่ไม่ดีมากขึ้นได้

ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration) 
จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที 
ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด

สมาธิสั้น (Attention Deficit)
มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ

การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก

ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function Disorder)
ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitationเช่น การอาเจียนเพื่อให้ลืมสิ่งที่ทำ
พลาดไว้ และสนใจการอาเจียนแทน
การปฏิเสธที่จะรับประทาน
รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
โรคอ้วน (Obesity)
ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)

ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง (เด็กโต)
ขาดเหตุผลในการคิด
อาการหลงผิด (Delusion)
อาการประสาทหลอน (Hallucination)
พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง

สาเหตุ   - ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology)
                  ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)

ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก  
 ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
 รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้ 
 มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
 มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
 แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 
 มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
 เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
 เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)


ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช  มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ  
 Inattentiveness   (ขาดสมาธิ,สมาธิสั้น)  
ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย
เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
 Hyperactivity  (อยู่ไม่นิ่ง)    
ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
เหลียวซ้ายแลขวา
อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
นั่งไม่ติดที่
ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
 Impulsiveness   (หุนหันพันแล่น ไม่รู้กาลเทศะ)
ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
ขาดความยับยั้งชั่งใจ
ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ เช่น การเข้าแถว
ไม่อยู่ในกติกา
ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
*ต้องมีครบทุก 3 ประการ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ถือว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น

สาเหตุ
-ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง  เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine)
ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex)
พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น  
- สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเล
จนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุม
รื่องสมาธิของเด็ก  *เกิดจากตัวเด็กเสมอ

ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย  มี 2 กลุ่ม
1. Methylphenidate ยี่ห้อ Ritalin  ใช้รักษาเยอะ
2. Atomoxetine  ยี่ห้อ Strattera  


*ควรใช้ทานตามที่หมอแนะนำ 
*ยาจะออกฤทธิ์ไปกระตุ้นที่สมองเด็กให้มีสมาธิมากขึ้น

ความแตกต่าง
- อยู่ไม่สุข (Hyperactivityเป็นอาการอยู่ไม่นิ่งอย่างเดียวเท่านั้น
- สมาธิสั้น (Attention Deficit )

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
- ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
- ดูดนิ้ว กัดเล็บ
- หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
- เรียกร้องความสนใจ
- อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
- ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
- ฝันกลางวัน,พูดเพ้อเจ้อ

9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)

- เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
- เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
- เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
- เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด

คลิปวีดีโอ การบำบัดเด็กสมาธิสั้น   การบำบัดเด็กสมาธิสั้น






ฝึกให้เด็กมีสมาธิ โดยการเขียนหนังสือ

การรักษาทางกิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น

ฝึกให้เคลื่อนไหวได้ช้าลงและการทรงตัว

กิจกรรมผ่อนคลาย


เพิ่มทักษะการรับรู้ทางสายตา

ฝึกการแยกภาพซ้อน

การรับรู้ตำแหร่งของร่างกายและสิ่งต่างๆรอบตัว

การรับรู้ด้านมิติสัมพันธ์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้


-  สามารถนำความรู้ไปใช้สังเกตลักษณะของเด็กได้ เพื่อให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตรงกับความเหมาะสมและถูกต้องสำหรับเด็ก  สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเลี้ยงดูเด็ก หรือนำความรู้แนะนำผู้อื่นต่อไปได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การประเมินผล



ประเมินอาจารย์

-  อาจารย์เข้ามาสอนตรงเวลา  และอธิบายความรู้รายวิชาได้ชัดเจน  มีการยกตัวอย่างในแต่ละ
เรื่องทำให้ภาพและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น  ซึ่งอาจารย์จะนำความรู้เพิ่มเติมมาสอนอยู่เสมอ  ระหว่าง
เรียนอาจารย์คอยให้คำแนะนำของนักศึกษา  และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา

ประเมินตนเอง

- ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆ จดบันทึกระหว่างเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อครูมีคำถาม
ตอบคำถามได้ และเข้าใจเนื้อหาความรู้ได้ดีค่ะ

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการเรียน  สนใจการเรียนและบันทึกเมื่ออาจารย์สอน อาจมีคุยกัน
บ้างเพราะเป็นช่วงแรกๆค่ะ  ออกมาเป็นตัวอย่างได้ชัดเจน สมบทบาท555 แสดงความคิดเห็นและ
รับฟังกันและกัน   มีความสนุกสนานในการเรียนการสอน :D


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ยินดีต้อนรับเคลื่อนไหว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น