
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวม
สำหรับเด็กปฐมวัย
สำหรับเด็กปฐมวัย
วันนี้ก่อนเรียนอาจารย์ให้สอบกลางภาคนอกตาราง ^^"
![]() |
กระดาษคำตอบน่ารักมากค่ะ >< |
รูปแบบการจัดการศึกษา
- การศึกษาปกติทั่วไป (Regular Education)
- การศึกษาพิเศษ (Special Education)
- การศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
- ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
- เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่รียนร่วมเต็มเวลาได้
* ปกติจะเรียนอยู่ที่ห้องเรียนเด็กพิเศษ จะอยู่ในระดับประถม
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
- การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
- เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความ
แตกต่างกัน ต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เหมือนกันทุกคน
*อยู่ร่วมกับเด็กปกติตลอดเวลาในการเรียน
*โรงเรียนจะจะสามารถเลือกเด็กที่จะเข้ามาเรียนได้
![]() |
วีดีโอน้องช่อแก้วเล่นขิมตามเพลงที่กรรมการขอได้ น่ารักและเก่งมากๆ |
การศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
- เป็นการศึกษาสำหรับทุกคน จะรับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา จัดให้มีบริการพิเศษตามความ
ต้องการของแต่ละบุคคล
*เด็กจะสามารถเลือกโรงเรียนเอง โรงเรียนจะไม่สามารถเลือกเด็กได้ และเป็นการเปิดโอกาสมากกว่าการศึกษา
แบบเรียนร่วม
Wilson , 2007 การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลักการสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี
(Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้ และเป็นการ ต้องคิด
กำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
ปรัชญาการเรียนรวม การศึกษาสำหรับทุกคน เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาเริ่มต้นตั้งแต่เด็ก
เด็กพิเศษควรได้รับการส่งเสริมเฉพาะบุคคล
"Inclusive Education is Education for all,
It involves receiving people
at the beginning of their education,
with provision of additional services
needed by each individual"
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาส
ในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก เด็กทุกคนที่ผู้ปกครอง
พาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนใน
ลักษณะ “รวมกัน” ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
ความสำคัญของการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
ปฐมวัยเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดของการเรียนรู้ สามารถสอนได้เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษที่มีขีดจำกัด
น้อยที่สุด
![]() |
อาจารย์ให้วาดภาพตามดอกบัวโดยเก็บรายละเอียดให้เหมือนมากที่สุด |
![]() |
ภาพดอกบัวของหนูเองค่ะ555 อาจไม่เหมือนบางอย่าง ระบายสีไม่ทันเวลาด้วยค่ะ555 แต่ก็ออกมาจนเสร็จ |
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย การวินิจฉัย หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่างจากอาการที่แสดงออกมา
นั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก เกิดผลเสียมากกว่าผลดีชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ *ผู้ปกครองจะอาจจะไม่พอใจกับการตั้งชื่อนั้นๆให้เด็ก และเกิดปัญหาตามมาได้
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
- พ่อแม่ของเด็กพิเศษ มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
- พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
- ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
- ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
- ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูควรทำอย่างไร
- ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
- จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
- สังเกตเด็กในสถานการณ์ต่างๆ
การตรวจสอบ
- จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
- เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
- บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
- ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
- ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
- พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
- การนับอย่างง่ายๆ นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรมกี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
- การบันทึกต่อเนื่อง ให้รายละเอียดได้มาก เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่งโดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
ตัวอย่าง
น้อง____อายุ ____ขวบ
บันทึกวันที่ ____
กิจกรรม____
กิจกรรม____
การบันทึกเป็นคำๆ
น้อง ____ อายุ ____ ขวบ
บันทึกวันที่ ____
ช่วงเวลา ____
คำพูดเด็ก
- การบันทึกไม่ต่อเนื่อง บันทึกลงบัตรเล็กๆ เป็นการบันทึกสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนในช่วงเวลาหนึ่ง
ด.ญ.______
อายุ ____ขวบ
บันทึกวันที่ 26 มกราคม 2558
ช่วงเวลา กิจกรรมกลางแจ้ง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
- ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
- พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
- ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
- พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้ไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตรงกับความเหมาะสมและถูกต้องสำหรับเด็ก และรู้วิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมและการศึกษาแบบเรียนร่วม เห็นถึงความแตกต่างของการศึกษาทั้ง 2 รูปแบบ
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้ามาสอนตรงเวลา และอธิบายความรู้รายวิชาได้ชัดเจน มีการยกตัวอย่างในแต่ละเรื่องทำให้ภาพและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจารย์จะนำความรู้เพิ่มเติมมาสอนอยู่เสมอ ระหว่างเรียนอาจารย์คอยให้คำแนะนำของนักศึกษา และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆ จดบันทึกระหว่างเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อครูมีคำถามตอบคำถามได้ และเข้าใจเนื้อหาความรู้ได้ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการเรียน สนใจการเรียนและบันทึกเมื่ออาจารย์สอนแสดงความคิดเห็นและรับฟังกันและกัน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น