อาจารย์แจกใบปั๊มคนละ 1 แผ่น พร้อมถุงพลาสติกใส
![]() |
น่ารักตลอด >< |
![]() |
อาจารย์อธิบายรายวิชาพร้อมสอนเนื้อหาภายในชีส |
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ( Children with special needs )
ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกว่า "เด็กพิการ" เด็กที่มีความผิดปกติทางกาย สูญเสียสมรรถภาพทางสิตปัญญา ทางจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ต้องจัดการศึกษาให้ต่างจากเด็กปกติทั้งเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
3. ครู เด็กจะแตกต่างจากเด็กทั่วไป ในทางที่ดีหรือไม่ดีก็ได้
สรุป
- เด็กพิเศษอาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนปกติ มีความบกพร่องทางกาย สติปัญญา และอารมณ์ ต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัดและฟื้นฟู จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของเด็ก
*All Children Can Learn เด็กทุกคนสามารถเรียนได้ด้วยกัน*
พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
- การเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวเด็ก
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน อาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หรือทุกด้าน และอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วย
*พัฒนาการเด็กจะมีพัฒนาการคงที่ พัฒนาการที่ดีขึ้น และพัฒนาการที่ถดถอย*
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
- ปัจจัยด้านชีวภาพ (ด้านร่างกาย เด็กอาจไม่แข็งแรง)
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด (ขณะอยู่ในครรภ์ แม่ดูแลดีหรือไม่?)
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด (ระหว่างการคลอด)
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด (ดูแลดีหรือไม่เมื่อคลอด? ครอบครัวมีปัญหา)
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. ทางพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ระยะไม่นานหลังเกิด มีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
- เด็กดาวซินโดม
- เด็กผิวเผือก เกิดจากการไม่มีสารเมลามิน เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้
![]() |
บริเวณดวงตาจะแดง |
- ท้าวแสนปม ลักษณะ มีตุ่มงอกได้ตามร่างกาย จำนวนตุ่มจะเยอะตามอายุ สามารถรักษาได้แต่ไม่หาย
![]() |
อาการในวัยเด็ก |
- Cleft / Cleft Palate ปากแหว่งเพดานโหว่ มักเกิดกับเด็กที่มีฐานะยากจน มีปัญหาเรื่องการพูด
- โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย
![]() |
ลักษณะเด็ก |
![]() |
อาการของโรค |
2. โรคของระบบประสาท มักมีอาการชัก เกิดจากระแบบประสาท เนื่องจากเส้นประสาทส่งกระแสประสาทผิดปกติ
3. การติดเชื้อ การติดเฃื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ มีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม ระบบเผาผลาญ , ฮอโมน คือ โรคไทรอยด์ฮอโมนในเลือดต่ำ เป็นปัญหามาก สามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด
![]() |
อาการของโรค |
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกซิเจน
![]() |
เด็กคลอดก่อนกำหนด 5 เดืิอน :( |
![]() |
เด็กเมื่ออายุครบ 9 เดือน แต่ยังต้องใส่เครื่องช่วยหายใจอยู่ |
6. สารเคมี
- ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กมากที่สุด มักมีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ และระดับสติปัญญาต่ำ
- แอลกอฮอล์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก พัฒนาการสติปัญญาบกพร่อง และบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal alcohol syndrome , FAS
- ช่องตาสั้น ร่องริมฝีปากบนเรียบ ริมฝีปากบนยาวและบาง หนังคลุมหัวตามาก จมูกแบน ปลายจมูกเชิดขึ้น
นิโคติน
- น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ สติปัญญาบกพร่อง สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าวอาจเกิดจากอากาศไม่บริสุทธิ์ มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร (ไม่ใช่สาเหตุหลัก)
8. สาเหตุอื่นๆ (อุบัติเหตุ)
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- มีพัฒนาการล่าช้ามากกว่า 1 ด้าน
- ปฏิกิริยาสะท้อน (Primitive reflex) ไม่หายไป เมื่อถึงอายุที่ควรจะหายไป และจะหายก่อนอายุ 1 ปี ถ้ายังไม่หาย แสดงว่าพัฒนาการของเด็กล่าช้า
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
- แบบทดสอบ Denver II (ใช้เยอะ)
- Gesell Draewing Test (การวาดรูป)
- แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด - ปี สถาบันราชานุกูล
กิจกรรม Gesell Draewing Test (การวาดรูป)
![]() |
ของหนูเองค่ะ555 แบบที่10กับ11 ไม่ได้เลยค่ะ >< แต่พยายามไปก็ทำได้ค่ะ 555 |
ความรู้ที่ได้รับ
- ได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่ามีลักษณะที่หลากหลาย และมาจากสาเหตุอะไรบ้าง ซึ่งสามารถนำเป็นความรู้ประกอบการเรียนการสอนได้ในการเลี้ยงดูเด็ก และให้ความรู้ผู้ปกครองและผู้อื่นได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันหรือแนะนำวิธีที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับเด็ก
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำความรู้เรื่องที่มีความต้องการพิเศษไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในอนาคตได้ เพื่อให้รู้พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
การประเมินผล
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้ามาสอนตรงเวลา และอธิบายความรู้รายวิชาได้ชัดเจน มีการยกตัวอย่างในแต่ละเรื่องทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งอาจารย์จะนำความรู้เพิ่มเติมมาสอนอยู่เสมอ ระหว่างเรียนอาจารย์คอยให้คำแนะนำของนักศึกษา และรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา มีกิจกรรมท้ายคาบเรียนทำให้น่าสนใจสนุกสนาน และยังเป็นความรู้ที่ดีด้วยค่ะ
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังและทำกิจกรรมต่างๆ จดบันทึกระหว่างเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อครูมีคำถาม ตอบคำถามได้ ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม สนุกสนานไปกับเพื่อนๆ และเข้าใจเนื้อหาความรู้ได้ดีค่ะ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆตั้งใจฟังและให้ความร่วมมือในการเรียน สนใจการเรียนและบันทึกเมื่ออาจารย์สอน อาจมีคุยกันบ้างเพราะเป็นช่วงแรกๆค่ะ แสดงความคิดเห็นและรับฟังกันและกัน คอยแนะนำเมื่อเพื่อนบางคนไม่เข้าใจ และสนุกสนานในการเรียนและการทำกิจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น